GROUP1 | GROUP2 | GROUP3
FINAL REPORT2
OER เหมือนหรือต่างกับ Open learning/open education อย่างไร
OER เป็นแหล่งข้อมูลจะช่วยสนับสนุนรูปแบบการเรียนรู้แบบ Open learning/open education ให้มีประสิทธิภาพ โดยการเรียนแบบ Open learning/ open education นั้น จะใช้ OER เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ประกอบในการเรียน Open Learning เป็นรูปแบบของการเรียนรู้แบบหนึ่งที่จะช่วยลดอุปสรรคทางการเรียนในด้านที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย สถานที่ เวลา ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ที่สามารถทำได้ทุกแห่งไม่เฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น สนับสนุนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถกำหนดทิศทางการเรียนของผู้เรียนได้ตามศักยภาพและความพร้อมของแต่ละคน ซึ่งโดยสรุปแล้วคำทั้ง 2 คำนี้จะไม่เหมือนกัน แต่จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในแง่ของการสนับสนุนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพขึ้นนั่นเอง
องค์ประกอบของ OER
OER
หรือแหล่งทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิด จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4
ด้าน ตามแผนภาพต่อไปนี้
1. Open access คือ
การเข้าถึงข้อมูลได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้บริการที่เป็นสถาบันการศึกษา ผู้ให้บริการข้อมูล ผู้สอน หรือผู้เรียน
2. Open licensed คือ
การอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ของข้อมูลในการนำมาปรับใช้ทางการศึกษาเพื่อตอบสนองตามจุดมุ่งหมายความต้องการใช้งานของผู้ใช้
3. Open format คือ การออกแบบฐานข้อมูลให้มีรูปแบบที่ใช้ง่าย
เปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถนำไปใช้ได้ง่าย โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องรูปแบบที่ซับซ้อน
4. Open software คือ
การผลิตข้อมูลโดยใช้โปรแกรมที่มีความหลากหลาย เปิดกว้างและตอบสนองต่อโปรแกรมอื่นๆ
ที่สามารถใช้ร่วมกันได้
Open Educational Resources (OER):
Sites & Examples
1. Khan Academy
เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งจัดได้ทำเวบไซท์ของแหล่งทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิด
(OER) เพื่อให้คนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรเหล่านี้ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
โดยในเวบไซท์จะประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ 2 ส่วน ดังนี้
1)
Subject เป็นส่วนของเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
เช่น คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การแพทย์ การเงิน เคมี ชีววิทยา คอมพิวเตอร์
เป็นต้น
ซึ่งภายใต้เนื้อหานั้นก็จะมีตัวอย่างของโจทย์ปัญหาที่พร้อมจะให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตัวเองหลังจากได้ศึกษาองค์ความรู้ในเรื่องต่างๆ
2) Coach เป็น page ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างห้องเรียนได้ด้วยตนเอง
โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดรายวิชาเรียน กำหนดจำนวนผู้เรียน มี page สำหรับการพูดคุยระหว่างผู้สอนและผู้เรียน กิจกรรม รวมไปถึงการวัดและประเมินผลของผู้เรียนด้วย
ใน page นี้ ยังมีแหล่งข้อมูลในรูปแบบของวิดีโอที่เกี่ยวกับตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนในเรื่องต่างๆ
เครื่องมือที่แนะนำ และแหล่งข้อมูลอ้างอิงต่างๆ
ที่สามารถนำมาใช้เป็นทรัพยากรในการศึกษาได้
2. OER Commons Open Educational Resources
เป็นเวบไซท์ที่รวบรวมแหล่งข้อมูลดิจิตอลทางการศึกษากว่า
30,000 รายการ
จากความร่วมมือของ 120 หน่วยงาน
เวบไซท์นี้ได้อนุญาตให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงและนำข้อมูลไปใช้ทางวิชาการได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ภายใต้ใบอนุญาตของ Creative Commons ภายในเวบไซท์นี้จะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญหลักๆ
คือ
1) Topic & Tools เป็นส่วนของเนื้อหา องค์ความรู้ และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Arts,
Humanities, Social, Sciences, Natural Sciences, Applied Sciences &
Technology, Mathematics & Statistics โดยในแต่ละเนื้อหาจะแยกออกเป็นระดับชั้นประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมกับตัวอย่างเครื่องมือต่างๆ
ที่ใช้ประกอบการเรียนรู้ เช่น กิจกรรม เกมส์ การบ้าน กรณีศึกษา
แผนการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
2) Connect เป็นกลุ่มของเนื้อหาที่มีการเฉพาะเจาะจงไปในเรื่องต่างๆ
โดยผู้ใช้งานต้องเข้าไปลงทะเบียนเพื่อร่วมแชร์ข้อมูลในแต่ละกลุ่มก่อนจึงจะสามารถเข้าใช้งานได้
ทั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
บทบาทของ Open Courseware กับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Flipped Classroom
ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom, Inverted Classroom) แนวคิดนี้มีหลักการสำคัญคือ
เป็นการกลับด้านรูปแบบการเรียนแบบเดิมจากที่เคยกระทำในชั้นเรียน เช่น
การบรรยายและให้นักเรียนทำการบ้านนอกห้องเรียนมาส่งครู แต่การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดนี้จะพลิกกลับ
คือ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ องค์ความรู้ต่างๆ นอกห้องเรียน
และทำงานที่ต่อยอดความรู้ในชั้นเรียน โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุน (Coach) และมีเพื่อนเป็นผู้ร่วมคิด
ดังนั้นจากแนวคิดนี้ OER จะมีส่วนช่วยให้การเป็นแหล่งทรัพยากรความรู้ที่ให้ผู้เรียนได้สามารถค้นคว้าองค์ความรู้ต่างๆ
ในระหว่างที่อยู่นอกห้องเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่การเรียนตามปกติ
แหล่งอ้างอิง
“Khan Academy”. https://www.khanacademy.org/. Retrieved 10 September
2014.
“Khan Academy”. http://en.wikipedia.org/wiki/Khan_Academy. Retrieved 10
September 2014.
Neil Butcher. “Basic Guide to OER”. http://www.col.org/PublicationDocuments/Basic-Guide-To-OER.pdf.
Retrieved 9 September 2014.
“OER Commons Open Education Resources”. https://www.oercommons.org/.
Retrieved 10 September 2014.
“Open educational resources”. http://en.wikipedia.org/wiki/Open_educational_resources.
Retrieved 9 September 2014.
Sandra Schaffert, Guntram Geser. “Open Education Resources and
Practices”. http://learn.creativecommons.org/wp-content/uploads/2008/05/open-educational-resources-and-practices.pdf.
Retrieved 9 September 2014.
1 comment:
เห็นด้วยอย่างยิ่งที่กล่าวว่า OER สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านได้เป็นอบ่างดี เพราะ OER เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในศตวรรษนี้
Post a Comment